มีอะไรที่ห้อง 230? พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่คณะวิทยาศาสตร์

วันเด็กหาที่เที่ยวในเมือง ที่ได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ กันทั้งพ่อแม่และลูก ตัดใจแวะมาพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่คณะวิทยาศาสตร์ (Chulalongkorn University Museum of Natural History)

วันนี้ มาถึงคนไม่เยอะ มาถึงคณะวิทยาศาสตร์ด้วยการเดินเท้าจากประตูใหญ่หน้าสระน้ำจุฬาฯ เพราะไม่มีที่จอดรถสำหรับบุคคลทั่วไป ตึกพิพิธภัณฑ์อยู่ที่ตึกชีววิทยา 1 ห้อง 230 ชั้น 2 ภาควิชาชีววิทยา

พิพิธภัณฑ์นี้ เปิดให้เข้าชมเป็นทางการเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2530 โดยสมเด็จพระเทพฯ เป็นประธานในพิธี มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมตัวอย่างสิ่งมีชีวิตและทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนการวิจัยและค้นพบใหม่ๆ ด้านวิชาการและเพื่อการอนุรักษ์

วันนี้ มากันสามคน คือ พ่อแม่ลูก ความโชคดีวันนี้ คือ พ่อลิงเป็นนักธรณีวิทยา (Geologist) ทำให้คุณพ่อหาเดินชมและแนะนำสิ่งต่างๆ ให้กับเราและลูกลิงได้สนุกสนาน 

มาดูสิว่า มีอะไรน่าสนใจที่วันนี้ พวกเราชอบและได้เรียนรู้ 

  1. Cabinet of Natural Curiosities ตู้การเรียนรู้สัตว์โลก
  2. ชมหอยมือเสือยักษ์ เก่าแก่กว่า 260 ปี  
  3. ศึกษากายวิภาคมนุษย์
  4. ชมวิวัฒนาการมนุษย์และหิน 
  5. ชมหัวกะโหลกกระดูกวาฬบรูด้า ขุดพบปี 2519 
  6. ชมสีสันกระดองเต่าจากเอเชีย และ แอฟริกา 

Cabinet of Natural Curiosities

ตู้การเรียนรู้แรก ที่ไม่อาจจะศึกษาเจ้าสัตว์โลกได้ใกล้ชิดขนาดนี้ หากน้องยังมีลมหายใจ เพราะ เป็นตู้รวมหัวและโครงกระดูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีความดุร้าย เช่น จระเข้ ตะโขง ช้าง หมูป่า ม้า รวมไปถึงเจ้าตัวเล็กๆ ได้แก่ นาก เต่า

ชมหอยมือเสือยักษ์ เก่าแก่กว่า 260 ปี  

ที่พิพิธภัณฑ์รวมเปลือกหอยหลากพันธุ์ ที่ที่สำคัญ หอยมีอเสือโบราณขนาดใหญ่ถึง 4 ฟุต 6 นิ้ว น้ำหนักเกือบ 580 ปอนด์​ หรือ 260 กิโลกรัมเลยทีเดียว ไม่อยากคิดว่าตอนมีตัวหอย จะตัวโตขนาดไหน คิดแล้วก็อยากกินหอยย่าง 🙂 ถ้าเป็นเจ้าตัวนี้ ไม่รู้ว่ากินกันกี่คนกว่าจะหมด

ศึกษากายวิภาคมนุษย์

โซนต่อไป จิตต้องแข็งนิด ชมเด็กดอง ตับดอง และสมองมนุษย์ดอง ที่ตู้นี้ เราสามารถเรียนรู้กระดูกส่วนต่างๆ ของมนุษย์ ดูไปก็จับกระดูกบ่า เข่าขาเราไปด้วย และจินตนาการสิ่งที่อยู่ใต้เนื้อหนังมังสาเรา

ชมวิวัฒนาการมนุษย์และหิน 

ตู้นิทรรศการส่วนหลังจะเป็นอธิบายวิวัฒนาการมนุษย์ กระโหลกมนุษย์ยุคโบราณ จนถึงวันนี้ วิถีชีวิตสัตว์โลก และไม้ประเภทต่างๆ ที่หลายเป็นหิน 

ตามผนังรอบๆ บริเวณส่วนิทรรศการ จะมีหัวกวางเก่าสต๊าฟ ดูแล้วน่าสนใจแต่ก็แฝงไปด้วยความน่ากลัว จ้องนานมโนไปว่าตาน้องจะกระพริบได้

ชมหัวกะโหลกกระดูกวาฬบรูด้า ขุดพบปี 2519 

ขึ้นชั้นลอย จะเห็นกระดูกใหญ่วางที่พื้นดูแปลกตา เมื่ออ่านศึกษารายละเอียด คือ หัวกะโหลกกระดูกวาฬบรูด้า ที่ขุดพบใต้ดินในปี 2519 โดยชาวบ้านที่กำลังขุดบ่อเลี้ยงปลาสลิด บริเวณ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ดูขนาดหัวแล้วให้จินตนาการไปว่าหากเจอกันใต้มหาสมุทรปรากร เจ้าปลาวาฬตัวจะใหญ่ขนาดไหนนะเนี่ย

เดินลึกเข้าไปด้านหลังส่วนนิทรรศการหัวกระโหลกวาฬ จะได้ชมโครงสร้างม้า และควาย ที่เห็นเด่นชัดจากด้านล่างจากประตูทางเข้า
แนะนำนิดนึง ขณะเดินขึ้นชั้นลอย เดินเพลินชมโครงกระดูกปลาพะยูนด้วย

ชมสีสันกระดองเต่าจากเอเชีย และ แอฟริกา 

เดินเลยไปอีกนิดจะเป็นห้องนิทรรศการเต่า ห้องเล็กๆ นี้ แสดงเต่าสต๊าฟ กระตองเต่าหลากหลายลายสีสวย จากประเทศอินเดีย ศรีลังกา เคนยา พม่า และไทย ไฮไลท์ของห้องนี้ คือ ตะพาบม่านลายตัวโตกลางห้อง เป็นตะพาบที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สะดุดตา คือ เจ้าเต่าแบนๆ ตอนแรกนึกว่าโดยทับ ปรากฎว่าน้อง คือ เต่าแพนเค้ก จากเคนย่าและ แทนซาเนีย น่ารักจริงๆ

วันนี้ เดินเล่นไปเกือบ ชั่วโมงพ่อลิงลูกลิงก็ดูหมดแรง ก่อนกลับพวกเราได้ชมโครงกระดูกที่ทางเข้าห้อง เป็นโครงกระดูกของ ศาสตราจารย์หลวงศรีสมรรถวิชชากิจ (สิริ หัพนานนท์) 2498-2527 ท่านเป็นอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์​ ครูใหญ่ของนิสิตและนักการเรียนรู้ด้านขีววิทยา ท่านบริจาคโครงกระดูกเพื่อการศึกษาให้กับคนรุ่นหลัง

ถึงตายสูญสิ้นไปจากโลก ยังขอให้ร่างเป็นครู ที่สอนคนรุ่นหลังตลอดไป Adayoff ขอให้แสดงเคารพหลวงศรีสมรรถวิชชากิจในจิตวิญญาณครู

วันนี้ พวกเรามาแล้วได้อะไร?

ขอยกเนื้อหาโดยสรุปจากบทความที่ของพิพิธภัณฑ์เขียนไว้ใน ชื่อ ถึงคุณ… มนุษย์ธรรมดา มาฝากทิ้งท้ายกัน…   

มนุษย์อย่าหลงคิดว่า เราเป็นสัตว์ที่เก่ง ยิ่งใหญ่ สิ่งเดียวในโลก เราอยุ่ร่วมกับสัตว์โลกอีกมา เราต้องให้เกียรติ์สิ่งมีชีวิตด้วยกัน และอยู่ด้วยกัน สร้าง Ecosystem ร่วมกัน ไม่ทำร้าย ทำลายกัน (source)

Errorlloyd

Errorlloyd

เริ่มการท่องเที่ยวสะพายกล้อง มาตั้งแต่อายุ 29 ปี มิชชั่น คือ ทุกปีต้องเดินทางไปที่ที่ไม่เคยไป เพื่อค้นหาเรื่องราว เข้าใจที่มาที่ไป รู้จักชีวิตหรือความคิดของคนต่างถิ่น ทุกสุดสัปดาห์ จะต้องเสาะหาสถานที่เที่ยวที่สามารถเดินทางได้ใน 1 วัน และทุกวันหลังเสร็จจากภารกิจงานและชีวิต มุ่งหาสิ่งใหม่ๆ ให้กับตัวเอง
Previous post เที่ยวโบราณสถาน-วัดร้าง ย่านเมืองนนท์​ ตอนที่ 2 วัดเพลง บางกรวย
Next post บ้านคุณวาวา “Than Heritage” จุดหมายปลายทาง ที่มากกว่าฝันและความตั้งใจ