เราอาจจะรูัจักลีโอนาร์โด ดาวินซี ว่าในฐานะที่เป็นศิลปินยุคเรอเนซองส์ ที่วาดภาพ ได้แก่ โมนาลิซ่า และ The Last Supper ดังก้องโลก …หรือเราอาจจินตนาการว่า เขาน่าจะเกิดในครอบครัวที่เพียบพรัอม จนได้มีโอกาสศึกษาวิทยากรครบเครื่อง และยังได้เรียนศิลปะจนสร้างผลงานได้สวยงามขนาดนี้ …แต่แท้ที่จริงแล้ว ชายผู้นี้ ลีโอนาร์โด ดาวินซี คือ ชายธรรมดาที่ไม่ได้เกิดในครอบครัวที่ร่ำรวย แต่เพราะอะไร ทำให้เขาถูกขนานนามว่าเป็นปราชญ์ในยุคของเขา และและยิ่งกว่านั้น ได้รับการยอมรับว่าเป็นอัจฉริยะ ด้านศิลปะ วิทยาศาสตร์ สถาปัตยกรรม วิศวกรรม ชีววิทยาในยุคปัจจุบัน
มารู้จักชีวิตลีโอนาร์โด ดาวินซี ผู้ชายธรรมดาจากเมืองวินซี
- เขาเป็นลูกนอกสมรส ของนายทะเบียนเซอร์ ปิเอโร กับลูกสาวชาวนา
- เขาไม่ได้ใช้นามสกุลบิดา แต่กลับใช้ชื่อเมือง “วินซี” (เมืองที่ใกล้บ้านเกิดเขา) เป็นนามสกุล อาจจะเป็นเพราะความแตกต่างของชนชั้น จึงไม่สามารถใช้นามสกุลของพ่อได้
- เขาเป็นศิลปิน ที่ฝากงานไว้กับมนุษยชาติ เพียงแค่ 2 โหลเท่านั้น ในขณะที่ศิลปินดังในยุคอดีต เช่น วินเซนต์ แวน โก๊ะ มีผลงานมาถึง 2000 ชิ้น
- เขาไม่เคยคิดว่าตนเอง คือ ศิลปิน เพราะในขณะที่เขาสมัครงาน เขาระบุความชำนาญของเขาด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และเขียนว่าการวาดรูปเป็นเพียงงานอดิเรก
เขาได้บันทึกการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ไว้ในสมุดบันทึก โดยเขียนจากพลิกกลับขวาไปซ้าย หลังจากที่เขาเสียชีวิตมาถึง 250 ปี สมุดของเขาถูกเปิดผนึก และต้องใช้วิธีการส่องกระจก จึงจะอ่านได้รู้เรื่อง และบันทึกของเขานี่เอง ที่พิสูจน์ว่า เขาไม่ได้เป็นแค่จิตรกรระดับโลก แต่เขาเป็นอัจฉริยะของมวลมนุษยชาติ
เพื่อหาคำตอบทุกมุมในความเป็นอัจฉริยะของลีโอนาโด ดาวินซี ADayoff จึงเดินทางไปไอคอนสยามเพื่อไปงาน “Da Vinci Alive Bangkok” นิทรรศการที่รวบรวมแสดงผลงานของลีโอนาโด ดาวินซี ด้านศิลปะ วิทยาศาตร์ วิศกรรม สถาปิตยกรรม ผ่านแบบจำลอง วิดีทัศน์ ภาพคัดลอกจากสมุดบันทึกของเขา ทั้งหมดถูกนำเสนอในรูปแบบศิลปะดิจิตอลอิมเมอร์ซีฟ (Immersive Multi-Sensory Experience) ทำให้เขาเข้าถึงเนื้อหาสาระได้ง่าย บอกเลยว่า แฟนพันธุ์แท้ ลีโอนาโด ดาวินซี ห้ามพลาด วันนี้ เรามาเดินนี้ จะพาเข้าชมกันเลย..
สิ่งน่าสนใจในงาน
- ชมแบบจำลองทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม สถาปนิก ที่ล้ำหน้ากว่ายุคเขา 500 ปี
- เจาะลึก “ภาพโมนาลิซ่า” ทฤษฎีซ้อนซ่อนเงื่อน
- ภาพสเก็ตด้านกายวิภาค รู้เรียนจริงจากศพ
- ค้นหาคำตอบ “รหัสลับอัจฉริยะของลีโอนาโด ดาวินซี คือ อะไร?”
- สัมผัสมัลติมีเดียแบบอิมเมอร์ซีฟ เล่าเรื่องราวศิลปินยุคเรอเนซองส์และบาโรค
- เล่นเป็นโมนาลิซ่าและอดัมสร้างโลก
ชมแบบจำลองทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม สถาปนิก ที่ล้ำหน้ากว่ายุคเขา 500 ปี
เมื่อตอนที่ดาวินซีมีชีวิตอยู่ เขาได้สเก็ตภาพแนวคิด กลไกเครื่องจักรกลโยธา อาวุธสงคราม การบิน ฟิสิกส์ กลศาสตร์น้ำและแสง สถาปัตยกรรม ลงไปในสมุดบันทึกของของ บางเรื่องได้นำไปใช้ตั้งแต่ยุคสมัยที่เขายังมีชีวิต บางเรื่องปิดเป็นความลับมากว่า 250 ปีหลังจากเสียชีวิต จนมีคนไปพบสมุดของเขา และทฤษฎีของเขาก็ได้เข้าสู่การทดลอง
เขาเคยกล่าวไว้ว่า “ต้องมีปีกไปเพื่อบิน หากความสำเร็จไม่ใช่ของฉัน ก็ต้องเป็นของผู้อื่นๆ”
ใช่เลย ถึงแม้ว่าดาวินซีไม่อาจจะสร้างวัตถุบินได้ในยุคของเขา แต่พี่น้องตระกูลไรต์ ได้นำเอาทฤษฏีการบินของเขามาศึกษา และพัฒนาจนมนุษย์สามารถสร้างได้เครื่องร่อนได้ครั้งแรก เมื่อปี ค.ศ. 1903
บันทึกทั้งหมดในสมุดของเขา กลายเป็นพื้นฐานหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ยังใช้กันจนถึงปัจจุบัน ดุจว่าดาวินซีนั่ง Time Machine มาศึกษาที่โลกอนาคตและนำกลับไปเขียนเลย
เจาะลึก “ภาพโมนาลิซ่า” ทฤษฎีซ้อนซ่อนเงื่อน
ห้องนิทรรศการโมนาลิซ่านับว่าเป็นไฮไลท์ของงาน เพราะอธิบายทฤษฎีที่ทำให้จิตรกรรมชิ้นนี้ กลายเป็นสัญลักษณ์ของยุคเรเนซองส์ (Renaissance) และยังเป็นภาพที่ราคาแพงที่สุดในพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ ถูกตีราคามูลค่าสูงถึง 18,000 ล้านบาทในปัจจุบัน
ภาพโมนาลิซ่าของจริง วาดด้วยเทคนิคการวาดแบบ Sfumato (แปลว่าควัน) ดาวินซีจะวาดสีน้ำมันให้กลมกลืนจากวัตถุต่อวัตถุโดยไม่มีการเขียนขอบหรือเส้น จนเหมือนหมอกควันมาสัมผัสกัน ที่รอยยิ้มของโมนาลิซ่ามีความลุ่มลึก เป็นเพราะว่าดาวินซีใช้ความเข้าใจด้านกายวิภาค บรรจงวาดจนทำใ้ห้เหมือนเธอมีชีวิต นอกจากนั้น เมื่อสแกนชั้นสีด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน พบว่าเขาวาดภาพนี้ ถูดวาดซ้อนทับกันหลายรอบอีกด้วย
แรกเริ่ม ลิโอนาโด สร้างผลโมนาลิซ่านี้ให้ ลีซา เดล โจกอนดา ภรรยาคนที่ 2 (บางหลักฐานระบุว่า คนที่ 3) ของฟรานเซสโก้ เดล โจกอนดา พ่อค้าผ้าไหมผู้มั่งคั่ง (ต่อมาเขากลายเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูง) เพราะสามีของลีซ่าจ้างดาวินซีให้วาดภาพนี้เพื่อเป็นของขวัญให้ภริยา แต่ด้วยภารกิจดาวินซีที่รัดตัวทั้งงานด้านวิศวกรและสถาปนิกในเวลานั้น เขาจึงใช้เวลาวาดภาพถึง 4 ปี พอจะส่งมอบให้ฟรานเซสโก้ เขาก็มีภรรยาใหม่ไปเสียแล้ว
แต่แล้ววิวัฒนการในโลกปัจจุบันทำให้เราค้นพบว่า ภาพโมนาลิซ่าที่เราเห็นปัจจุบัน ไม่ใช่ตัวจริงของลีซา เดล โจกอนดา แต่ลิซ่ามมีตัวตนอยู่บนภาพนี้จริงๆ โดนวาดทับอยู่ใต้ภาพผู้หญิงคนที่เรามองบนภาพในปัจจุบัน บ้างก็ว่าผู้หญิงคนภาพซ้ำบนสุด คือ ตัวลีโอนาโอ ดาวินซี นั่นเอง!!!
ทำไมเขาจึงวาดซ้ำแล้วซ้ำอีก? และถ้าอ่านศึกษาเพิ่มเติม ดาวินซียังเก็บภาพวาดโมนาลิซ่าไว้ จนวันสุดท้ายของชีวิตเขา
เราขอลองตั้งทฤษฎีเองว่า การที่ดาวินซีไม่มีโอกาสส่งมอบภาพนี้ให้กับผู้ว่าจ้าง ทำให้เขาตั้งสินใจเปลี่ยนผลงานศิลปะชิ้นนี้ ให้เป็นห้องทดลองการเรียนรู้และเทคนิคต่างๆ โดยผลลัพธ์จากการทดลองออกมาอย่างน่าพอใจ ภาพโมนาลิซ่าจึงความเป็นเอกลักษณ์ชองยุคเรอเนซองส์และราคาสูงมาก และงานศิลปะชิ้นนี้ หยุดการพัฒนาเมื่อเขาตายนั่นเอง ดังคำที่เขาเคยกล่าวไว้ว่า “Art is never finished, only abandon” (งานศิลปะทำยังไงก็ไม่เคยเสร็จ ยกเว้นจะถูกละทิ้ง)
ภาพสเก็ตด้านกายวิภาค รู้เรียนจริงจากศพ
ผลงานอันน่าทึ่งของดาวินซีอีกชุดหนึ่ง คือ ภาพสเก็ตกายวิภาคของเขา และจะอึ้งกว่า ถ้าทราบว่า เขาไม่เคยเรียนแพทย์ แต่ด้วยสาเหตุเดียวกันเฉกเช่นกับที่ทำให้เขามีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ เพราะ “ความอยากรู้อยากเห็น” เขาจึงผ่าศพไปถึง 30 ร่างอย่างลับๆ เขาต้องการเข้าใจการทำงานของร่างกายมนุษย์ ในยุคที่ถือว่าชำแหละร่างการศพเป็นสิ่งต้องห้าม นอกรีต
เขาบันทึกกลไลที่สนับสนุนการเคลื่อนไหวของมนุษย์ ได้แก่ วิธีการทำงานของกล้ามเนื้อ เอ็น ต่อมา ลักษณะลายเส้นของดาวินซีนั้น ถูกกำหนดเป็นรูปแบบภาพประกอบในหนังสือเรียน (Textbook) กายวิภาคที่ใช้มาอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน (หนังสือเรียนนี้ ชื่อว่า Gray’s Anatomy หรือ ตำรากายวิภาคศาสตร์ของเกรย์ ค้นหาตัวอย่างได้ในโลกออนไลน์)
รหัสลับอัจฉริยะของลีโอนาโด ดาวินซี คือ อะไร?
จากการศึกษาชีวประวัติของลีโอนาโด ดาวินซี เขาไม่เคยเรียนเฉพาะทางเกี่ยวกับเรื่องวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ หรือแม้แต่การแพทย์ใดๆ แต่เขากลับบันทึกการเรียนรู้ลงสมุดบันทึกได้อย่างละเอียด และนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงใน 500 ปีข้างหน้า
รหัสลับอัจฉริยะของลีโอนาโด ดาวินซี คือ นิสัยขี้สงสัย ความอยากใครรู้ที่ไม่ยอมแพ้ ทำให้เขาสังเกตุ ทดลอง ลงมือทำ แถมยังบันทึกสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้และทดลองไว้เป็นระบบ สร้างคุณค่ากับมวลมนุษยชาติ
เขายังทิ้งปรัชญาในการดำเนินชีวิต ที่ให้คุณค่าของ ความรู้ และการเรียนรู้ จนเป็นที่เห็นทั่วไปในปัจจุบัน เช่น
Learning never exhausts the mind
การเรียนรู้ไม่เคยทำให้ใจเราเหน็ดเหนื่อย
I have offended God and mankind because my work didn’t reach the quality it should have.
ฉันต้องขอโทษพระเจ้าและมนุษยชาติ เพราะงานของฉันเคยไม่ถึงคุณภาพที่ฉันควรจะสามารถทำได้
Where there is shouting, there is no true knowledge.
ณ ที่มีเสียงตะโกนร้อง ไม่มีความรู้ที่แท้จริง
Experience never errs; it is only your judgments that err by promising themselves effects such as are not caused by your experiments.
ประสบการณ์ไม่เคยผิด แต่มันเป็นเพียง “การตัดสินใจของคุณ” ที่กระทำผิดเพราะต้องการทำให้เห็นผลจากการตัดสินใจ เช่นนั้นไม่ได้มีตันเหตุจากประสบการณ์
สัมผัสมัลติมีเดียแบบอิมเมอร์ซีฟ เล่าเรื่องราวศิลปินยุคเรอเนซองส์และบาโรค
สัมผัสมัลติมีเดียแบบอิมเมอร์ซีฟ เรียนรู้ประวัติและผลงานดาวินซี ที่ห้องสุดท้ายของนิทรรศการจะแสดงมัลติมีเดียประวัติศาสตร์ศิลปะ ยุคเรอเนซองส์ และ บาโรค แสดงผลงานศิลปะผ่านการยิงโปรเจอเตอร์บนหน้าจอ 360 องศา พร้อมแสงสีเสียง ที่ทำให้เราดื่มด่ำไปกับคุณค่างานศิลปะ และบรรยากาศของเมืองฟลอเรนส์
เล่นเป็นโมนาลิซ่าและอดัมสร้างโลก
มาที่นิทรรศการ เราไม่เพียงแต่เดินชมผลงานจำลอง วิดีทัศน์ เรายังสามารถเล่นกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำลองจากภาพสเก็ตได้อีกด้วย และยังเล่นสนุกถ่ายภาพที่ระลึกเข้าเฟรมภาพเป็น “โมนาลิซ่า” ในแบบของฉัน และรับภารกิจสร้างโลกแทนอดัม ในกรอบผลงานจิตรกรรมจำลอง “The Creation of Adam” ของไมเคิลแองเจโล (Michelangelo)
วันนี้ ใช้เวลาเยี่ยมชมนิทรรศการไปกว่า 3 ชั่วโมง เปิดโลกให้เราได้รู้จักลีโอนาโด ดาวินซี ในอีกมุมมองในฐานะนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร มากกว่าเดิมที่รู้จักกันในฐานะอัครศิลปินระดับโลกจากยุคเรอเนซองส์
สิ่งสำคัญที่เราได้เรียนรู้ คือ เราทุกคนควรที่กล้าตั้งคำถามกับสิ่งต่างๆ รอบตัว ว่าเหตุการณ์ หรือสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร? เพราะอะไร? และสังเกตุ ทดสอบ ลงมือปฏิบัติ ผู้ใหญ่หลายคนอาจจะบอกว่า ความรู้ของเขาดีที่สุด เป็นบรรทัดฐานให้คนรุ่นหลัง
ถึงเวลาแล้วที่อาจจะต้องเปลี่ยนใจ ทำตัวเองให้เป็นน้ำไม่เต็มแก้ว เพราะโลกยังคงเปลี่ยนแปลงตลอดทุกนาที หากเราหยุดอยู่กับที่เราจะกลายเป็น เรานี่ล่ะ ที่จะล้ำหลังที่สุดก็เป็นได้
ขอบคุณ ลีโอนาโด ดาวินซี อัจฉริยะของชาวโลก
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม