หารหัสลับผ่านงานอาร์ต จากศิลปินในเทศกาล Bangkok Art Biennale 2020 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพฯ (BACC)

ช่วงนี้ ตั้งใจไปชมงานศิลปะร่วมสมัยในเทศกาล  Bangkok Art Biennale #BAB2020 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ตัวเองยาวๆ กันไปถึงปีใหม่ ทำไมฟังดูจะเป็นการเดินทางชมที่ยาวนาน  เพราะงานนี้ มีผลงานศิลปะของศิลปินร่วมสมัยชาวไทยและชาวต่างประเทศมาให้ชมกว่า 200 ชิ้น ใน 10 จุดในกรุงเทพ เช่น วัดโพธิ์ วัดอรุณ The One Bangkok มิวเซียมสยาม หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพฯ (BACC) เป็นต้น และนำเสนอในรูปแบบที่หลากหลาย ได้แก่ นิทรรศการ ชมวิดีทัศน์ happening art และการเสวนา 

เที่ยวชมงานอาร์ตที่ Bangkok Art Biennale ที่หอศิลปกรุงเทพ  

  • ทำตัวให้คุ้นเคยกับ Bangkok Art Biennale 
  • Bangkok Art Biennale  ที่หอศิลป์กรุงเทพฯ ต่างจากจุดแสดงที่อื่นอย่างไร 
  • เปิดใจให้โล่ง เพื่อเข้าถึงรหัสลับที่ซ่อนอยู่ข้างหลังความสวยงาม
  • ดูตัวอย่างผลงานที่ไม่ควรพลาด

ทำตัวให้คุ้นเคยกับ Bangkok Art Biennale

Bangkok Art Biennale หรือชื่อย่อ BAB เป็นเทศกาลศิลปะประจำปีที่ศิลปิน นักสะสม และคนรักงานศิลปะซึ่งรวมถึงเราด้วย ตั้งหน้าตั้งตารอชม หรือรอเข้าร่วมงานกันทุกปี งานนี้ จัดต่อเนื่องมาแล้วเป็นปีที่ 3 สิ่งสำคัญที่ทำให้เป็นชื่นชอบของแฟนๆ คนรักงานศิลปะ คือ การรวบรวมผลงานศิลปะจากศิลปินร่วมสมัยระดับโลกจากประเทศต่างๆ มาแสดงผลงานให้คนไทยชมฟรี ภายใต้คอนเชปของงานที่เปลี่ยนไปทุกปี 

หน้าตึกประติมากรรมร่วมสมัยเป็นตัวแทนเล่าคอนเชปงาน BAB2020 ที่ศิลปินร่วมกันถ่ายทอดผลงานสะท้อนว่า มนุษย์กำลังเผชิญกับความรุนแรง ความวุ่นวายจากการเมือง สังคม และ โรคภัย
จุดลงทะเบียนรับคู่มือการชมที่ทางเข้าชั้น 1

นอกจากนี้ Bangkok Art Biennale ยังสร้างประโยชน์ในระดับประเทศ ส่งเสริมยกระดับคุณภาพงานศิลปะร่วมสมัยของคนไทยให้ที่มีรู้จักในวงกว้าง และยังทำให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับนักท่องเที่ยว (ในช่วงสถานการณ์ปกติที่ไม่มีโรคระบาด) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอีกด้วย 

งาน Bangkok Art Biennale ปี 2020 นี้ จัดภายใต้ theme ศิลป์สร้าง ทางสุข เพื่อนำเสนองานศิลปะให้กับคนไทยในการผ่อนคลายความตึงเครียดของพวกเรา จากภาพสังคมวุ่นวาย เศรษฐกิจที่ถดถอย และความหวาดกลัวโรคภัยที่ขณะนี้ยังควบคุมไม่ได้ในระดับโลก 

Bangkok Art Biennale  ที่หอศิลป์กรุงเทพฯ ต่างจากจุดแสดงอื่นอย่างไร 

ผลงานศิลปะที่แสดงที่หอศิลป์กรุงเทพฯ มีจำนวนมากกว่า 85 ชิ้นงาน มากกว่าทุกๆ จุดในกรุงเทพ จะเรียกได้ว่า เป็นจุดการแสดงผลงานหลักก็ว่าได้  ส่วนในจุดอืนๆ ที่มีการจัดแสดงจะผสมผสานให้เข้ากับคอนเชปของสถาปัตยกรรม จัดแสดง 1-3 ชิ้น

ภาพจากมุมบนภายในหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ
ช่วงระหว่างชั้น จะมีผลงานให้ชมตอนเส้นทางการเดิน

งาน Bangkok Art Biennale ที่หอศิลป์กรุงเทพฯ เข้าชมได้ฟรี  พวกเราสามารถชมตั้งแต่ชั้น 1 และเดินเรื่อยไปชั้น 6-9  บางท่านเลือกที่มุ่งหน้าขึ้นลิฟท์ไปชั้น 9 ก่อนแล้วค่อยเดินลงชมงานที่ละชั้น เราแนะนำให้ควรวางแผนการชมขั้นต่ำ 2 ชั่วโมง เพื่อจะได้มีเวลาพอในการอ่านความคิดของศิลปิน ใช้เวลาชมวิดิทัศน์ หากนำกล้องถ่ายภาพ หรือ วิดีโอไป ดูป้ายข้อกำหนดในการเข้าชมแต่ละห้องให้ดี เพราะบางห้องไม่อนุญาตให้บันทึกวิดีโอ  

เปิดใจให้โล่ง เพื่อให้เข้าถึงศิลปะกันเลย และมาดูกันว่า ผลงานไหนน่าสนใจกันบ้าง  

ผลงานศิลปะ Bangkok Art Biennale ในปีนี้ มีความสวยงาม สร้างความเพลิดเพลินให้เราได้แน่นอน แต่เนื่องจากสถานการณ์ในปี 2020 ที่ชาวโลกกำลังประสบการเรื่องความกลัวโรคภัยที่ยังคงระบาดและป้องกันไม่ได้  สังคมเครียด เศรษฐกิจซบเซา สงครามมหาอำนาจที่ไม่เคยหยุดทำให้ประชาชนในหลายประเทศเดือดร้อน ศิลปินจึงสร้างความสวยงามที่ซ่อนเสียงสะท้อน ส่งข้อความประชดประชัน เสนอมุมมองที่คนไม่เคยเห็นหรือไม่กล้าพูด ออกมาเป็นผลงานที่น่าสนใจ มาดูกันซิว่า ผลงานไหนโดนใจเราบ้าง 

1. Classroom, 2020
Leandro Erich ศิลปินชาวอาเจนติน่า

งาน Installation ชิ้นนี้ สะท้อนความคิด 2 มุม คือ สะท้อนให้เราคิดถึงความหลังสมัยเรียน ได้กลับไปเป็นนักเรียนกันอีกครั้ง และลึกไปกว่านั้น สะท้อนชีวิตนักเรียนที่ต้องจำต้องจากห้องเรียนไป ในช่วงทั้งโลกต้องสู้กับโรคระบาดโควิท19

ขอชวนกลับไปนักเรียนกันใหม่ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ 

2. DRAGONER PANZER (Dragoon Tank)
วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ศิลปินชาวราชบุรี ประเทศไทย

คนถังลายครามนี้ มีคติการสร้างงานจากเหตุการณ์ใน ประวัติศาสตร์ ปี พ.ศ. 2260 เรื่องแจกันดรากูน หรือ แจกันทหาร ที่จักรพรรดิเฟรดเดอริค ออกัสตัสที่ 1 แห่งแซกโซนี ยอมแลกเปลี่ยนทหารม้า 600 นาย กับคอลเล็คชั่นแจกันลายครามจากจีน ชื่อดรากูน จากจักรพรรดิเฟรดเดอริค วิลเลี่ยมที่ 1 แห่งปรัสเซีย จำนวน 151 ชิ้น  

การกระทำของ จักรพรรดิเฟรดเดอริค ออกัสตัสที่ 1 จึงเลือกที่จะขยายความรุ่งเรื่องของประเทศด้วยงานศิลปะ ในขณะที่ จักรพรรดิเฟรดเดอริค วิลเลี่ยมที่ 1 แห่งปรัสเซีย วัดความรุ่งเรื่องของประเทศจากการสะสมอาวุธ

ผลงานนี้เป็นสัญลักษณ์ที่ล้อเลียนเหตุการณ์การแลกเปลี่ยนนี้ กับเหตุการณ์ในปัจจุบันที่ว่า คนยอมแลกเปลี่ยนได้ทุกอย่าง เพื่อคงไว้ซื่งอำนาจและเกียรติยศของตน 

พิกัด: ชั้น 7 หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ 

3. Peek!, 2020
ชฤต ภู่ศิริ ศิลปินคนกรุงเทพ ประเทศไทย 

ชิ้นนี้ เป็นชิ้นที่เราชอบมากที่สุด เหมาะกับอุปนิสัยคนยุค 2020 มา คือ สังคมยิ่งซับซ้อน คนก็สามารถแอบทำสิ่งที่ไม่ควร ไม่ถูกศีลธรรม จรรยาบรรณ หรือ จารีตในที่ลับในง่ายขึ้น ในขณะเดียวกัน คนในสังคม อีกจำนวนนึง ก็ชอบสืบหา เสาะหา พอเจอแล้วก็นำมาวิพากวิจารณ์กันอย่างสนุกสนานทั้งในโซเซียลมีเดีย หรือแม้แต่บนพื้นที่สื่อหลัก

ศิลปินสะท้อนเรื่องเหล่านั้น ภาพถ่ายสไตส์ภาพยนต์ในกล่อง 4 เหลี่ยมร่วม 7 กล่อง และเจาะรูให้พวกเรา “ส่อง” เข้าในกล่องแห่งความลับด้วยความอยากรู้อยากเห็น และอนุญาตให้เขียนความคิดลงในสมุดข้างๆ กล่อง 

ผลงานชิ้นนี้ ขอให้มาชมด้วยตัวเอง เพราะ ภาพในกล่องน่าส่องจริงๆ ที่ชั้น 6 หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ

4. The Law of Journey, 2016
Ai Weiwei ศิลปินจากสาธารณรัฐประชาชนจีน

ผลงานชุดนี้ ควรใช้เวลาพินิจพิจารณานานหน่อย เพราะด้วยขนาดและปริมาณเรื่องราวที่ Ai Weiwei ต้องการสื่อสารและถ่ายทอดชีวิตผู้ลี้ภัยนั้น มีความครบถ้วนและลึกซึ้ง  

ในปี 2016 Ai Wewei ศิลปินด้านสิทธิมนุษย์ชนผู้นี้ ตัดสินใจเดินทางไปค่ายผู้ลี้ภัยถึง 40 แห่ง ใน 20 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ ชนวนกาซา ซีเรีย เป็นต้น เพื่อรวบรวมข้อมูล และกลับมาสร้างงานศิลปะถ่ายทอดความคิดออกมาผ่านหุ่นลมยางเรือผู้ลี้ภัยขนาดใหญ่ท่วมหัวสีดำทมึน และยังห้อมล้อมด้วยกำแพงที่ติดภาพถ่ายเล่าเรื่องชีวิตผู้ลี้ภัย และภาพกราฟฟิคการสงครามและหทาร 

จุดน่าสนใจเล็กๆ ที่เราสัมผัสและทำให้น้ำตาไหลในใจ คือ ชีวิตในท้องทะเลนี้ไม่ปราณีต แม้แต่เด็กตัวเล็กยังต้องมาล่องลอยมองท้องทะเลแบบไร้ความหวังอยู่ที่ปลายเรือยาง หวนกลับมาคิดว่า เราควรภูมิใจในชาติไทย และ บรรพบุรุษ ที่รักษาอธิปไตยของประเทศไทยไว้ให้มีดินแดนให้พวดเราทำมาหากินไม่ต้องเร่ร่อน 

พิกัด: ชั้น 8 หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ 

5.ไม่มีชื่อภาพ, 2019-2020
พีรชัย (เสมอ) พัฒนพรชัย

ศิลปินเร่ร่อนบนท้องถนนในกรุงเทพ ชื่อ “เสมอ” สร้างผลงานอยู่ในกลุ่มประเภทศิลปะคนบอก เพราะเขาวาดภาพไปพร้อมกับการตะโกนสนทนากับเสียงที่มองไม่เห็นกับองค์กรลับที่วางแผนป่วนเมืองและจะทำร้ายคนรอบตัวเขา!!  เขาจึงวาดภาพแผนชั่วร้าย พร้อมวิธีหลบหนี ในรูปแบบรหัส และสัญลักษณ์ที่เชื่อมโยงไปถึงวิชาโหราศาสตร์ 

ขอชวนกันไปถอด “รหัสลับของเสมอ” กันที่ ชั้น 9 หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ 

6. Can i See Your Panties, 2019
ลำพู กันเสนาะ ศิลปินชาวน่าน อาศัยและทำงานที่อัมพวา สมุทรสงคราม ประเทศไทย 

ชิ้นนี้ ทำให้เราต้องขำแรง กับภาพวาดชีวิตเด็กนักเรียนขาสั้น ที่ล้อเลียนให้คิดไปถึงนักการเมืองชื่อดังของโลก ทรัมป์ และโอลาม่า และพอไปอ่านชื่อภาพก็ยิ่งฮา เพราะมีชื่อว่า ขอดูกางเกงใน 

พิกัด: ทางเดินระหว่างชั้น 6 ไปชั้น 7 หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ

7. #FANTASY, 2020
Ga Ram Kim ศิลปินจากกรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี 

ศิลปินชาวเกาหลีผู้นี้ ต้องการถ่ายทอดให้คนได้สติในการดู-เชื่อในเนื้อหาที่นำเสนอผ่าน Youtube เพราะสิ่งที่เห็นคือการแต่งเติม ซึ่งต่างจากโลกความจริง  ความน่าสนใจของงานชิ้นนี้ ไม่ได้อยู่เพียงแค่ป้ายไฟ LED ขนาดใหญ่ ที่ตั้งอยู่กลางพิ้นที่ขนาดใหญ่ แต่ศิลปินยังชวนให้เราค้นหาตัวจริงของเรา ด้วยการสแกน QR code เพื่อค้นหาคุณเป็นใครในพิพิธภัณฑ์ และเมื่อหาคำตอบได้แล้ว #Fantasy จะพบไปเจอแฟนคนที่คุณรอคอย ..

หนุ่มโสดสาวโสดทั้งหลาย สนใจล่ะสิ ต้องมาลองแล้วล่ะ ชั้น 7 หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ 

8. Max The Spin Necker 2020
Jack The Skinner, 2019
The Shadow of Zack, 2020
P7 ศิลปินคนกรุงเทพ ประเทศไทย 

สะท้อนสังคมที่ถูกย้อมด้วยความน่ารัก น่าเอ็นดู  ที่กำลังคุกคามมาด้วยภัยมืดและกิเลสตัณหา  P7 ถ่ายทอดความน่าเอ็นดูผ่านหุ่นพากย์เสียง Ventriloquist 

จุดนี้ เหมาะกับถ่ายภาพสรุกเป็นที่ระลึก ที่ชั้น 7 หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ 

9. ภาพจากชุดผลงาน America และ Made in China
Andres Serrano ชาวนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา

ในห้องนี้ เหมือนเป็นแค่การติดตั้งภาพถ่ายๆ ธรรมดาไว้ 4 มุม แต่หากได้ดูชื่อภาพ และความหมายภาพแล้ว เหมือนศิลปินต้องการถ่ายทอดการให้สะท้อนสถานการณ์ต่อสู้ของมหาอำนาจ อเมริกา และ จีน

มหาอำนาจอเมริกา คือ ภาพถ่าย Donald Trump (America) 2004 เป็นหนึ่งในภาพถ่ายบุคคลในซีรีย์ Amercia จำนวน 115 รูป ที่เก็บภาพบุคคลที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ 911  ส่วนฝั่งมหาอำนาจจีนกลับแสดง ภาพถ่ายสาวจีน Li Meixuan (Made in China) 2017  และภาพถ่ายผู้สูงวัยชาวจีนนาม Wang Xiuying (Made in China) 2017 จากชุดภาพถ่ายบุคคลในซีรีย์ Made in China ที่ Andres Serrano สร้างงานในช่วงปี 2017 ในขณะที่เขาเดินทางไปประเทศจีนครั้งแรก

การจัดรวบรวมคัดภาพมาแสดงในห้องนี้ เป็นไปได้ 2 แง่มุม คือ 

ศิลปินต้องการเสียดสีว่า การต่อสู้ของมหาอำนาจนี้ เหมือนการต่อสู้ระหว่างชายผู้แข็งแกร่งกับผู้หญิงและคนชรา … หรือแสดงความเจริญของวัฒนธรรมอเมริกัน ที่ต้องแลกด้วยความสูญเสียจากเหตุการณ์ 911 ในขณะที่ประเทศจีนนั้นความเจริญทางวัฒนธรรมของจีนยังคงเบ่งบานที่ส่งต่อรุ่นสู่รุ่นไปได้อย่างไม่รู้จบ

ทั้งหมด เป็นการตีความจากเรา ไม่ปรากฏคำอธิบายสาเหตุของการรวบรวมผลงานในห้องนี้ ลองมาค้นหาคำตอบด้วยคุณเองที่ ชั้น 7 หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ

10. The Promenade des Homos, 2020
ไมเคิล เชาวนาศัย ศิลปินคนกรุงเทพ ประเทศไทย 

ผลงานภาพถ่ายชุดนี้ สะท้อนความเท่าเทียม เสมอภาคของ LGBTQ ในยุคปี 2020 ข้อความที่ต้องการสื่อสาร คือ ทุกเพศล้วนมีทั้งคนดีคนเลว สูงเตี้ยต่างกัน ส่วนการที่แต่ละคนละเลือกรักเพศใดนั้น เป็นเสรีภาพส่วนบุคคลแห่งยุคนี้

พิกัด: ชั้น 6 หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ 

11. Money, 2020
ตะวัน วัตุยา ศิลปินคนกรุงเทพ ประเทศไทย 

ธนบัตร กำลังจะมีค่าเพียงแค่เพียงกระดาษและอาจจะไร้มูลค่าในยุคที่มนุษย์กำลังเปลี่ยนไปใช้จ่ายเงินผ่านธุรกรรมออนไลน์ เพราะความกังวลโรคภัย ตะวัน วัตุยา จึงได้วาดภาพธนบัตรจากประเทศต่างๆ ลงกระดาษด้วยสีน้ำเพื่อถ่ายทอดความคิดนี้ 

พิกัด: ชั้น 6 หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ

12. The Death Star, 2019
อุบัติสัตย์ ศิลปินชาวเชียงใหม่ ประเทศไทย

The Death Star สะท้อนความจริงของชีวิตชาวนาไทยที่ต้องประสบกับปัญหาความยากจน โดนเอารัดเอาเปรียบ โดนบุกรุกที่ดิน จนทำให้พวกเขาไร้ทางออกหันไปพึ่งโหราศาสตร์  ญาณทิพย์ เทพเจ้า ชาวนาคนนี้กำลังมองไปบนฟ้าและอวกาศ ยอมรับชาตะชีวิตอย่างสิ้นหวัง

พิกัด: ชั้น 9 หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ  

13. RUBBISH, DIPPING SAUCE, GRASS PEONIE BUM series, 2015
Maisie Cousins ศิลปินเมืองลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร 

Maisie Cousins ผู้เป็นเจ้าแห่งการถ่ายทอดศิลปะผ่านลัทธิบริโภคนิยมของคนในปัจจุบัน นำอาหารเหลือ วัสดุใส่อาหาร มาจัดองค์ประกอบภาพผ่านกล้องถ่ายรูปและกล้องจุลทรรศน์ ดูแปลกตาน่าสนใจ

พิกัด: ชั้น 6 หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ 

14. Flow, 2020
สุลิยา ภูมิวงศ์ ภูมิลำเนาบ้านก๊กไซ สปป.ลาว อาศัยและทำงานที่เวียงจันทร์ สปป.ลาว

ถ่ายทอดลัทธิทุนนิยมที่กำลังเข้าแทรกซึมในบ้านก๊กไซ ผืนแผนดินเกิดของ สุลิยา ภูมิวงศ์ ผ่านควายปั้นดินเหนียวหลากสีที่เปรียบเสมือนคนในหมู่บ้าน ที่กำลังโดนชักจูงเข้าไปให้ลงเหวแห่งระบบทุนนิยม  ส่วนมนุษย์หัวควาย คือ นายทุน หรือคนในหมู่บ้านที่ได้ตกเป็นทาสแห่งลัทธินี้ไปแล้ว 

พิกัด: ชั้น 7 หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ

15. ALPHA [Wolf], 2019
Baatarzorig Batjargal ศิลปินชาวอูลานบาดอร์ ประเทศมองโกเลีย

ผลงานนี้ เป็นของศิลปินสายอนุนักษ์นิยมชาวมองโลเลียชื่อ Baatarzorig Batjargal สร้างผลงาน ALPHA [WOLF] หรือนายพรานในชุดทหาร เพื่อสะท้อนแนวคิดปกป้องสานต่อวิถีชีวิตชาวมองโกลที่ใช้ชีวิตเร่ร่อน ดำรงชีวิตจากการล่าสัตว์ 

พิกัด: ชั้น 7 หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ 

16. Mars Aliens, 2020
Baatarzorig Batjargal ศิลปินชาวอูลานบาดอร์ ประเทศมองโกเลีย

ผลงานอีกชิ้นของ Baatarzorig Batjargal ที่ถ่ายทอดวิถีชีวิตชาวมองโกลที่ต้องใช้ชีวิตเร่ร่อน ดำรงชีวิตจากการล่าสัตว์ ในภาพมีความน่าสนใจตรงที่ศิลปินวาดภาพเรื่องพระเจ้าหนู ที่มีหัวเหมือนมิกกี้เม้าส์ ล้อมรอบด้วยพิธีกรรมบูชาเทพดา 

พิกัด: ชั้น 7 หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ 

17. It’s What Inside That Courts, 2016
Rachel Maclean ศิลปินชาวเอดินบะระ ประเทศสกอตแลนด์  ปัจจุบันอาศัยทำงานที่กลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์

ภาพวาดและวิดีทัศน์ที่สะท้อนว่า เยาวชนสาวแรกรุ่นกำลังตกเป็นเหยื่อของผู้ใหญ่ในโซเซียลมีเดีย ที่ใช้ความสาว ความเซ๊กซี่ และความน่ารักสดใสของพวกเธอไปเป็นเครื่องมือทางการค้าเท่านั้น

พิกัด: ชั้น 7 หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ 

วันนี้ เดินชมงานศิลปะไปกว่า 3 ชั่วโมง ยังไม่เต็มอิ่มเท่าไหร่ แต่ต้องออกเดินทางไปรับลูก สิ่งที่ได้รับ คือ การขยายมุมมองชีวิตให้กว้างกว่าเดิม เห็นและยอมรับเหตุการณ์สิ่งต่างๆ ในสังคมไทย และโลกที่กำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เห็นพลังของศิลปินรุ่นใหม่ที่กล้าพูดแสดงออก มองเรื่องรอบตัวมาถ่ายทอดผ่านศิลป์ให้เข้าถึงในวงกว้างแบบสร้างสรรค์ 

หากช่วงนี้ ใครรู้สึกหงุดหงิด ผิดหวัง เพราะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม หรือเรื่องครอบครัว ลองมาผ่อนคลายรับสุนทรียศาสตร์ทางศิลปะ และเปิดใจรับข้อความที่ศิลปินที่ต้องการสื่อผ่านรหัสทางศิลปะ ก็จะทำให้เราเห็นสังคมที่กว้างขึ้น 

แล้วเราจะรู้ว่า ปัญหาที่พวกเรากำลังเผชิญนั้น มันเล็กนิดเดียว.. 

ที่ด้านหน้าหอศิลปกรุงเทพฯ​ มีงานศิลปะเขาวงกตไม้ไผ่ชื่อ Untitled 2020 (Infinite Attempts never concluded) ของศิลปินชาวอาเจนตินา ชื่อ Rirkrit Tiravanija เขาต้องการสื่อว่าโครงสร้างที่สลับซับซ้อน เปรียบเสมือนสังคมชาวโลกนะตอนนี้ ศิลปินทำที่นั่งไว้ตรงกลางให้ปลีกวิเวก เพื่อหลีกหนีความวุ่นวาย หากเหนื่อยกันแวะมาเที่ยวชมงานศิลปะและลองนั่งเงียบในเขาวงกตนี้ แล้วกลับออกไปสู้กับโลกกัน ขอให้กำลังใจ!

Errorlloyd

Errorlloyd

เริ่มการท่องเที่ยวสะพายกล้อง มาตั้งแต่อายุ 29 ปี มิชชั่น คือ ทุกปีต้องเดินทางไปที่ที่ไม่เคยไป เพื่อค้นหาเรื่องราว เข้าใจที่มาที่ไป รู้จักชีวิตหรือความคิดของคนต่างถิ่น ทุกสุดสัปดาห์ จะต้องเสาะหาสถานที่เที่ยวที่สามารถเดินทางได้ใน 1 วัน และทุกวันหลังเสร็จจากภารกิจงานและชีวิต มุ่งหาสิ่งใหม่ๆ ให้กับตัวเอง
Previous post เปิดตำนานบะหมี่เกี๊ยว กลางหอศิลป์กรุงเทพฯ สี่แยกปทุมวัน
Next post ความบังเอิญ หรือ ธรรมะจัดสรร วัดกลางวรวิหาร ปากน้ำ สมุทรปราการ